การสร้างบล็อกอาศัยวิธีการ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สร้างจากโปรแกรมบล็อกหรือซอฟท์แวร์
บล็อกประเภทนี้ ผู้สร้างต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งให้ใช้งานฟรี และแบบเสียค่าบริการรายปี โปรแกรมที่นิยมใช้งานมากๆ ได้แก่ WordPress, Joomla, Mambo และ LifeType เป็นต้น
2. สร้างจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์
เป็นอีกประเภทที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องด้วยใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำงานค่อนช้างรวดเร็ว แบบนี้ ท่านต้องเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ผู้ให้บริการก่อน ได้แก่ GotoKnow, Bloggang, OKnation Blog, WordPress/Windows Live หรือ Blogger ที่ท่านกำลังศึกษาขณะนี้ถือได้ว่าเป็นบล็อกฟรีที่สร้างง่าย ได้รับความนิยมสูงสุดซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์ของค่าย Google
วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้สร้างต้องมีอีเมล์สำหรับสมัครเพื่อเปิดใช้บริการของ Blogger ท่านควรมีอีเมล์ ของ Gmail ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Google เพื่อเข้าถึงองค์ประกอบหลักในการสร้างบล็อก รวมถึงส่วนบริการเสริมของ Google อื่นๆได้ง่าย (แต่ก็สามารถใช้ email เครือข่ายใดก็ได้ ศึกษาเพิ่มเติมจาก http://mediath3.blogspot.com)
2. ไปที่ www.blogger.com เพื่อเริ่มสร้างบล็อก โดยไปที่ส่วนลงชื่อเข้าใช้งาน (Sign in) ด้านขวา ใส่อีเมล์ของท่านและรหัสผ่านลงในช่อง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้งาน หากท่านที่ไม่คุณเคยภาษาไทย อยากเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นคลิกเลือกเปลี่ยนที่มุมขวาล่างสุด (สำหรับบทความนี้ขอใช้ภาษาไทย)
3. จะเข้าสู่หน้าการลงทะเบียนใช้งาน ซึ่ง Blogger มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเพียง 3 ขั้นตอน ก็คือ
ขั้นตอนที่ 1 การสมัครสมาชิกและลงทะเบียนใช้งาน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตั้งชื่อบล็อก
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกแม่แบบ (Template)
ขั้นตอนที่ 1 การสมัครสมาชิกและลงทะเบียนใช้งาน
เริ่มที่คลิกที่ปุ่ม สมัครใช้งาน(สีแดงด้านบนขวา)
1.จะเกิดหน้าให้ท่านกรอกประวัติเพื่อสมัครเข้าใช้งาน แนะนำให้ควรกรอกประวัติด้วยข้อมูลจริง หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องจำได้
เริ่มที่คลิกที่ปุ่ม สมัครใช้งาน(สีแดงด้านบนขวา)
1.จะเกิดหน้าให้ท่านกรอกประวัติเพื่อสมัครเข้าใช้งาน แนะนำให้ควรกรอกประวัติด้วยข้อมูลจริง หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องจำได้
เสร็จแล้วอย่าลืมคลิกที่ช่อง การยอมรับข้อตกลง ด้วย
2.เมื่อกรอกข้อมูลถูกต้อง และครบถ้วนให้คลิกที่ปุ่ม ขั้นตอนถัดไป (สีฟ้าด้านล่างขวา)
3.จะปรากฏหน้า ยินดีต้อนรับ ก็ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัครเข้าใช้บริการ ซึ่งเท่ากับว่า ท่านมีเมล์สำหรับใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเมล์ไปโดยปริยาย
เริ่มเข้าใช้งาน
1.คลิกที่ปุ่ม กลับไปที่ Blogger สีฟ้า
2.เลือกไปที่โปรไฟล์บล็อกเกอร์ คลิกปุ่ม สร้างโปรไฟล์บล็อกเกอร์แบบจำกัด
3.ใส่ชื่อของ Blog ลงในช่องชื่อที่แสดง
4.คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อไปยังบล็อกเกอร์ (สีส้ม)
5.มาถึงตรงนี้ ท่านก็มีสิทธิ์พร้อมที่จะสร้างเรื่องราวเนื้อหาบน Blog แล้ว
ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตั้งชื่อบล็อก
ขั้นตอนนี้ จะเป็นการตั้งชื่อของเว็บบล็อกของท่านในสภาพจริง เรามาทำกันต่อเลย
1.โดยการคลิกที่ปุ่ม บล็อกใหม่ ซึ่งจะเกิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่ ท่านต้องกำหนดชื่อที่จะแสดงที่หัวเว็บท่านลงไปในช่อง ชื่อ และกำหนด URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่ใช้แสดงผลเว็บ ลงในช่อง ที่อยู่ ซึ่งชื่อที่ท่านกำหนด ระบบจะทำการตรวจสอบทันทีว่าสามารถใช้งานได้ไหม
2.ที่ส่วนแม่แบบท่านสามารถกำหนดเลือกแม่แบบตรงส่วนนี้ก่อนได้ ซึ่งจะมีแม่แบบหลักๆให้ท่านเลือก 7 กลุ่ม ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกในภายหลัง
เมื่อเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่ม สร้างบล็อก ได้เลย
เมื่อเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่ม สร้างบล็อก ได้เลย
3.ที่หน้า Blogger จะกลับมาที่หน้าเดิม ซึ่งคราวนี้จะเห็นชื่อที่ท่านตั้งปรากฏอยู่ ดังภาพด้านล่าง มาถึงตอนนี้ ครบ 3 ขั้นตอน ท่านก็พร้อมที่จะเริ่มเขียนบล็อกได้แล้ว
บางคนอาจจะ งง ว่าครบ 3 ขั้นตอนได้ไง ขั้นตอนการเลือก ธีมหรือแม่แบบไปไหน ขอเรียนให้ทราบว่า ท่านผ่านมาแล้วในข้อที่ 2 แต่ขั้นตอนนี้ที่กำหนดไว้ เผื่อท่านไม่ชอบหน้าธีมของ BLOGGER ทั้ง 7 กลุ่มท่านสามารถเลือกเอา ธีม หรือ template จากแหล่งภายนอกมาใช้งานได้ โดยศึกษาเพิ่มเติมที่ http://mediath3.blogspot.com/2013/05/blogger-7template.html
4.เริ่มเป็นนักเขียนบล็อก ให้ท่านคลิกที่ปุ่ม รูปปากกา หรือคลิกที่คำว่า เริ่มต้นการโพสต์ ซึ่งจะเข้าสู่กระดานเขียนบล็อกดังภาพ
5.หากบทความที่ท่านเขียนยังไม่เสร็จก็ยังไม่ต้องคลิกที่ปุ่มเผยแพร่ ให้คลิกที่ปุ่มปิด สถานะของเรื่องที่ท่านสร้างจะอยู่ในสถานะฉบับร่างหรือ Draft ท่านสามารถมาเขียนต่อได้
6.หากท่านเขียนหรือสร้างเสร็จแล้ว และทำการคลิกปุ่มเผยแพร่ บทความนี้ก็จะถูกเผยแพร่ทันที ซึ่งระบบยังอนุญาตให้ท่านกลับมาแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา โดยเลื่อนเมาส์มาที่ชื่อรายการบทความจะมีรายการ (แก้ไข ดู ลบ) ตามที่ท่านได้ดำเนินการเขียนบทความไว้
7. มาถึงตรงนี้ท่านก็มีบล็อกเป็นของตัวท่านเองแล้ว ดังภาพด้านล่าง
7. มาถึงตรงนี้ท่านก็มีบล็อกเป็นของตัวท่านเองแล้ว ดังภาพด้านล่าง