Friday, March 16, 2012

Blogger : 4. การใส่แบนเนอร์ส่วนหัวให้กับบล็อก

0 ความคิดเห็น
 
จากบทความแนะนำสภาพแวดล้อมทั่วไปของ Blogger จะพบว่าในส่วนหัวอนุญาตให้เราสามารถวางภาพส่วนหัว เพื่อใช้เป็นสัญญลักษณ์ของเว็บได้
วิธีการ ดำเนินการดังนี้
1. สร้างแบนเนอร์ตามที่ต้องการไว้ก่อน ขนาดแล้วแต่ท่านแต่ความกว้างไม่ควรน้อยกว่า 800 pixel ความสูงของภาพก็ลองออกแบบให้ดูเหมาะสม ไม่สูงมากจนเกินควร ขนาดมาตรฐานประมาณ 100 pixel  ถ้าใส่สูงมากก็จะกินพื้นที่หน้าจอแสดงผล

2.เมื่อเข้าทำงานในฐานะผู้สร้าง(ต้อง login เข้ามา) ซึ่งจะปรากฏรายละเอียดดังภาพด้านล่าง

3. ให้คลิกไปที่ปุ่ม รายการที่ post (หมายเลข 8) ตามรูปด้านล่าง






4. จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน พร้อมเครื่องมือ ให้ท่านดูที่แถบกลุ่มเครื่องมือด้านซ้ายมือ เลือกรายการ รูปแบบ แล้วคลิก


5.ไปคลิกที่คำว่าแก้ไข ในบริเวณที่เรียกว่าส่วนหัว(หมายเลข 3) จะปรากฎหน้าต่างสำหรับ นำภาพเข้ามายังในหน้าเว็บ ดังภาพด้านล่าง
6. ที่ปุ่ม Browse ให้ท่านคลิกแล้วไปยังตำแหน่งที่ท่านได้สร้างแบนเนอร์ส่วนหัวไว้ นำภาพเข้ามาตามวิธีการปกติ
7.ทำการกำหนดเงื่อนไขการจัดวาง หากไม่ต้องการให้เห็นข้อความ(ในที่นี้คือคำว่า northeducation) ให้เลือกรายการที่ วางคำอธิบายไว้หลังภาพ
สำหรับ checkbox คำว่า ลดขนาดให้พอดีนั้น ระบบจะปรับลดแบนเนอร์นี้ให้กว้างเพียง 760 pixel เพื่อการแสดงผลบนเว็บที่มีความกว้างเพียง 800 pixel เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน มีเว็บไซต์ความกว้างขนาดนี้ ไม่มากนัก
เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึก  ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกระบวนการ

Readmore...
Thursday, March 15, 2012

Blogger : 3.การสร้างบทความ

0 ความคิดเห็น
 
การสร้างบทความบน Blogger สามารถสร้างงานได้ค่อนข้างง่าย ซึ่ง Blogger สนับสนุนการสร้างงานใน 2 ลักษณะ ทั้งแบบพิมพ์-จัดหน้าเอกสารที่มีมาพร้อมเครื่องมือที่จำเป็นต่อการใช้งาน กับอีกรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องมีทักษะทางด้านการพัฒนาเว็บพอสมควร เรามาศึกษารายละเอียดกันทีละแบบ

1.แบบ Compose
ในแบบนี้ค่อนข้างทำงานคล้ายคลึงกับโปรแกรม Microsoft Word  มีเครื่องมือที่จำเป็นต่อการใช้งาน มาพอสมควร ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานได้ง่าย


มีส่วนประกอบในหน้าต่างทำงานดังนี้
1.     ช่องกำหนดหัวเรื่อง 
2.     ส่วนเลือกรูปแบบการสร้างเนื้อหา ระหว่าง Compost และ HTML ซึ่งสถานะปัจจุบัน อยู่ในโหมด Compose
3.     เครื่องมือการ Undo Redo
4.     รูปแบบฟอนต์ ตัวอักษร มี 7 รูปแบบ
5.     ขนาดตัวอักษร มี 5 ขนาด เล็กสุด ถึง ใหญ่สุด
6.     กำหนดคุณลักษณะของตัวอักษร หนา เอน ขีดเส้นใต้
7.     กำหนดสีของตัวอักษร
8.     กำหนดคุณลักษณะให้เกิด hilight ตัวอักษร ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
9.     ทำ Link ให้ข้อความ ซึ่ง Link ที่สร้างสามารถกำหนดได้ทั้งที่เป็น Link ของเว็บไซต์ และ
        จดหมายอีเล็กทรอนิกส์

10.   เพิ่มรูปภาพลงในบทความ โดยระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น
        สู่ระบบ และยัง
สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้

11.   เพิ่มวิดีโอลงในบทความ ซึ่งท่านสามารถเพิ่มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จาก YouTube จาก
        โทรศัพท์
มือถือ เป็นต้น
12.   เป็นส่วนวาง Jump break สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่
13.   ทำบทความให้ชิดซ้าย อยู่กึ่งกลาง หรือชิดขวา
14.   สำหรับใส่ลำดับข้อให้บทความ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบตัวเลขและแบบ Bullet
15.   ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
16.   ส่วนกำหนดเงื่อไข ป้ายกำกับ หรือ Label ให้บทความ ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเพิ่มหมวดหมู่
17.   กำหนดวัน เวลา กำกับบทความ มีทั้งแบบตั้งค่าเอง และแบบอัตโนมัติ
18.   ตำแหน่งและที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สร้างบทความ
19.   ส่วนกำหนดเงื่อนไขพิเศษ ให้กับบทความ
20.   Update / Publish เป็นส่วนกำหนดสถานะของบทความว่าอยู่ในแบบออนไลน์(ปุ่มนี้จะอยู่ในสถานะ
        Update) หรือเป็นต้นฉบับ (ปุ่มนี้จะแสดงเป็น Publish) ซึ่งจะทำงานสำพันธ์กับ /Save ในข้อ (21)
        โดย Update / Publish ถือเป็นปุ่มสำหรับการปรับปรุงข้อมูล
ที่เราแก้ไข หรือสร้าง (คล้ายๆกับการ
        save งาน)

21.   เป็นส่วนกำหนดสลับสถานนะบทความที่สร้าง ระหว่างบทความออนไลน์ หรือ แค่เป็นฉบับร่าง
       ซึ่งตรงปุ่มนี้ จะมี 2 สถานะ คือ  Revert to Draft (ร่าง) / Save

22.   Preview เป็นปุ่มสำหรับทดสอบการแสดงผล
23.  ปิดกระดานสร้างเนื้อหา

2.แบบ HTML

ในลักษณะนี้ผู้สร้างงานต้องมีพื้นความรู้ด้านภาษาคำสั่งที่ html ซึ่งสามารถเข้าถึง ปรับแก้ เพิ่มเติมลักษณะพิเศษได้ค่อนข้างมากผ่านการใช้ภาษาคำสั่ง html


โดยในรูปแบบนี้ เครื่องมือจะเหลือเพียงไม่กี่รายการ ได้แก่
1. ชุดสลับโหมดระหว่าง Compost และ HTML ซึ่งสถานะปัจจุบัน อยู่ในโหมด HTML
2. ชุดกำหนดคุณลักษณะตัวอักษรหนา หรือ เอียง
3. เครื่องมือวาง links
4. เครื่องมือนำภาพเข้า
5.   ส่วนใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
นอกนั้นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับแบบ Compose (แบบที่ 1 )


Readmore...
Wednesday, March 14, 2012

Blogger : 2.สภาพแวดล้อมทั่วไป

0 ความคิดเห็น
 
blogger เป็น Application ออนไลน์ที่สร้างเอกสารเว็บที่ง่าย ผู้สร้างงานสามารถใช้งานได้ไม่ยากนัก ด้วยชุดเครื่องมือที่หน้าแดชบอร์ด ซึ่งจะขอสรุปในแต่ละส่วนดังนี้

ภาพรวม

เป็นส่วนแรกที่แสดงถึงภาพรวมของ Blog ไม่ว่าจะเป็นสถิติการเข้าดูหน้าเว็บ การ update ข้อมูล หรือเอกสารเว็บที่สร้าง หรือข่าวสารจากทาง Blogger เป็นต้น


 

บทความ

เป็นส่วนแสดงรายการบทความที่เราเขียนขึ้นทั้งหมด ซึ่งจะเข้าไปปรับแก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุงบทความที่สร้าง
 
 


หน้าเว็บ

ในส่วนนี้เป็นส่วนเพิ่มหน้าเว็บ ที่ใช้แสดงบ่อยๆ ในทุกบล็อกที่อยู่ในกลุ่มได้ โดยสามารถกำหนดให้แสดงเป็นลักษณะเมนูพิเศษบนหน้าบล็อกได้

ความคิดเห็น

เป็นส่วนแสดงผลของรายละเอียดความคิดเห็นของผู้อ่านที่ทำการแสดงความคิดเห็นบทบล็อกเรา (ซึ่งท่านต้องตั้งค่าอนุญาตให้ตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด)

Google+

การใช้งานอย่างชาญฉลาด ด้วยการเชื่อมต่อบล็อกที่สร้างเข้ากับ Google+

 

สถิติ

แสดงรายละเอียดภาพรวมของผู้เข้าเยี่ยมชม
ภาพรวม
บอกภาพรวมทั้งหมดของผู้เข้าเยี่ยมชม แสดงผลเป็นวันปัจจุบัน วันที่ผ่านมา หรือสถิติในรอบเดือน แยกรายละเอียดจำนวนผู้เข้าอ่านในแต่ละบทความ รวมถึงตำแหน่งประเทศของการเข้าถึงบล็อกด้วย
บทความ
แสดงสถิติจำนวนผู้เข้าชมบทความ
ที่มาของปริมาณการเข้าชม
จะแสดงข้อมูล URL ของผู้อ่านผ่านจากการค้นหาของเว็บไซต์ใด
ผู้ชม
แสดงข้อมูลของผู้เข้าเยี่ยมชมบล็อกมาจากประเทศใด ใช้ Browser อะไร ด้วยระบบปฎิบัติการใด

รายได้

เป็นอีกหนึ่งรายการ(ที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย) ของ Google ที่สามารถเชื่อมต่อ Google AdSense ที่นำไปเป็นช่องทางโฆษณาเพื่อการหารายได้จาก AdSense มาเชื่อมต่อกับบล็อกเราได้

 
 

รูปแบบ

เป็นส่วนกำหนดสภาพแวดล้อมทั้งหมดของบล็อกที่สร้าง ผ่านการวางส่วนประกอบต่างๆ ที่เรียกว่า Gadget และยังสามารถเพิ่มเติม Gadget อื่นๆ ตามที่ต้องการได้ (ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://mediath3.blogspot.com/2014/05/blogger-5-blogger.html)

แคมเปญ

เป็นอีกหนึ่งในคุณลักษณะใหม่เชิงธุรกิจ (ที่ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย) ที่อำนวยความสะดวกในการทำให้บล็อกที่สร้างเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่บล็อกไปสู่ผู้อ่านรายใหม่ หรือประชาสัมพันธ์ไปยังผู้อ่านคนเก่าให้กลับเข้ามาอ่านอีกผ่าน AdWords ของ Google ทำให้ผลการค้นหาผ่าน Keyword จะแสดงผลข้อมูลการค้นหาในลำดับต้นๆเลยทีเดียว

 

แม่แบบ

เป็นส่วนเลือกรูปแบบหรือธีม หรือเทมเพลต ของบล็อกของท่าน โดยจะแสดงเป็นภาพตัวอย่าง นอกจากจะมีแม่แบบของ Blogger แล้ว ท่านสามารถนำ code แม่แบบจากแหล่งภายนอกเข้ามาตรงจุดนี้ได้ (ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://mediath3.blogspot.com/2013/05/blogger-7template.html)

 

การตั้งค่า

พื้นฐาน
เป็นส่วยสำหรับแก้ไขชื่อชองบล็อก การกำหนดแก้ไข URL ของบล็อกที่เผยแพร่ ซึ่งตรงส่วนนี้สามารถกำหนดสิทธิ์ทั้งของผู้เขียนบล็อก(อาจจะเชิญผู้อื่นเข้ามาร่วมเขียน) รวมถึงสิทธิของผู้อ่านด้วย
โพสและความคิดเห็น
 สำหรับกำหนดหัวข้อของบทความที่แสดงในหน้าหลักว่าต้องการให้แสดงเป้นจำนวนเท่าใด การกำหนดเงื่อนไขของการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
มือถือและอีเมล
สามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อจัดส่งการแจ้งเตือนการโพสต์ การแสดงความคิดเห็นต่างๆผ่าน SMS ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือผ่านทางอีเมล
ภาษาและการจัดรูปแบบ
เลือกภาษาที่ใช้งานในบล็อก และการจัดรูปแบบวันเวลาต่างๆ

ค่ากำหนดของการค้นหา
สำหรับกำหนดค่าของ Meta tag การแจ้งเตือนข้อผิดพลาด การรวบรวมข้อมูลขั้นสูง ซึ่งผู้ใช้งานต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน server พอสมควร

อื่นๆ
เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนที่ใช้ทำการ นำบล็อกเข้ามา การส่งข้อมูลบล็อกออกหรือการลบบล็อกที่ใช้งานอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของผู้อ่านได้ เช่นกำหนดเฉพาะผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่  มีเครื่องมือ Google Analytics  สำหรับใช้งานเฉพาะด้าน

หลังจากทำความเข้าใจด้านกลุ่มเครื่องมือจากเมนูต่างๆ คราวนี้มาทำความเข้าใจในส่วนรายละเอียดของโครงสร้าง(รูปแบบ)บล็อกกันบ้าง

สภาพแวดล้อมทั่วไปของ Blogger ในเวอร์ชั่นของ Google มีข้อแตกต่างจาก Blogger ดั้งเดิมอยู่บ้าง เรามาเรียนรู้กันในส่วนของสภาพแวดล้อม พื้นฐานค่าตั้งต้นโดยรวมกันก่อน โดยจะทำการเปรียบเทียบ ในมุ่มมองทั้งฝั่งของผู้สร้างงาน (ภาพด้านบน) และฝั่งทางผู้อ่าน ก็คือการแสดงผลจริง (ภาพด้านล่างสุด)



หมายเลข 1 คือ Favicon สำหรับไว้สร้างเอกลักษณ์ของบล็อกในลักษณะเป็น โลโก้เล็กๆ ที่ท่านต้องเตรียมไฟล์รูปไว้
หมายเลข 2 คือ ส่วนเมนูบาร์ หรือแถบนำทาง ส่วนนี้ในมุมมองมองผู้เข้าชมหรือผู้อ่าน จะประกอบด้วย รายการ
ส่วนค้นหา จะเป็นส่วนค้นหาข้อมูลในบล็อกนี้
ใช้ร่วมกัน จะเป็นส่วนเชื่อมต่อ Social network
ติดตาม จะเป็นส่วนสำหรับให้เราเฝ้าติดตาม(พร้อมแจ้งข่าว)อ่านบล็อกสมาชิกคนอื่น
รายงานการละเมิด เป็นส่วนแจ้งไปที่เว็บไซต์ของ Blogger เมื่อพบมีการละเมิดบทความหรือข้อผิดพลาด
บล็อกถัดไป เป็นส่วนเชื่อมต่อไปยังบล็อกอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ส่วนแสดงผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะแสดงด้วย e-mail
บทความใหม่ (สร้างบล็อก) ส่วนสำหรับสร้างบล็อก
การออกแบบ ส่วนสำหรับสร้างบล็อก
ออกจากระบบ/ลงชื่อเข้าใช้ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกให้เข้าสู่ระบบ

หมายเลข 3 เป็นส่วนวางหัวเว็บ(Page Header) จะอยู่ในตำแหน่งเกือบบนสุด ซึ่งระบบอนุญาต ให้ท่านสามารถนำภาพกราฟิกหรือ Logo มาวางตรงจุดนี้ได้ เพื่อบ่งบอกตัวตน (ดังตัวอย่างข้างล่าง)
ซึ่งค่าดั้งเดิมจะแสดงเป็นแค่ข้อความที่เป็นชื่อที่ท่านลงทะเบียนไว้แทน
หมายเลข 4 เป็นส่วนแสดงเนื้อหาบทความ


หมายเลข 5 โซนนี้เรียกว่า Sidebar เป็นส่วนแสดงรายการบทความหรือรายการบล็อก ข้อความตรงนี้สามารถแก้ไขตามความต้องการได้)


หมายเลข 6 เป็นส่วนแสดงข้อมูลของเจ้าของบล็อก ซึ่งจะอยู่ในโซน Sidebar เช่นกัน ส่วนนี้สามารถใส่ภาพ เจ้าของบล็อก หรือLogo ประจำตัวได้


หมายเลข 7 เป็นส่วนท้ายเว็บที่จะแสดง status ของเว็บว่าเป็นใคร ผนวกรวมกับแสดงรายละเอียด ของรูปแบบ template และแสดงสิทธิ์ของบล็อก ซึ่งก็คือ Blogger นั่นเอง
นอกจากนี้ Blogger ยังสามารถติดตั้งส่วนพิเศษที่เรียกว่า Gadget เพิ่มเติมต่างๆได้โดยง่าย โดย Blogger ได้มี Gadget ที่น่าใช้ในเวลานี้มากถึง 28 รายการ มีรายการ ดังภาพด้านล่างนี้

Readmore...
Tuesday, March 13, 2012

Blogger : 1.การสร้างบล็อก

0 ความคิดเห็น
 

การสร้างบล็อกอาศัยวิธีการ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สร้างจากโปรแกรมบล็อกหรือซอฟท์แวร์
บล็อกประเภทนี้ ผู้สร้างต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งให้ใช้งานฟรี และแบบเสียค่าบริการรายปี โปรแกรมที่นิยมใช้งานมากๆ ได้แก่ WordPress, Joomla, Mambo และ LifeType เป็นต้น

2. สร้างจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์
เป็นอีกประเภทที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องด้วยใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำงานค่อนช้างรวดเร็ว แบบนี้ ท่านต้องเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ผู้ให้บริการก่อน ได้แก่ GotoKnow, Bloggang, OKnation Blog, WordPress/Windows Live หรือ Blogger ที่ท่านกำลังศึกษาขณะนี้ถือได้ว่าเป็นบล็อกฟรีที่สร้างง่าย ได้รับความนิยมสูงสุดซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์ของค่าย Google


วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้สร้างต้องมีอีเมล์สำหรับสมัครเพื่อเปิดใช้บริการของ Blogger ท่านควรมีอีเมล์ ของ Gmail ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Google เพื่อเข้าถึงองค์ประกอบหลักในการสร้างบล็อก รวมถึงส่วนบริการเสริมของ Google อื่นๆได้ง่าย (แต่ก็สามารถใช้ email เครือข่ายใดก็ได้ ศึกษาเพิ่มเติมจาก
http://mediath3.blogspot.com)

2. ไปที่ www.blogger.com เพื่อเริ่มสร้างบล็อก โดยไปที่ส่วนลงชื่อเข้าใช้งาน (Sign in) ด้านขวา ใส่อีเมล์ของท่านและรหัสผ่านลงในช่อง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้งาน หากท่านที่ไม่คุณเคยภาษาไทย อยากเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นคลิกเลือกเปลี่ยนที่มุมขวาล่างสุด (สำหรับบทความนี้ขอใช้ภาษาไทย)

3. จะเข้าสู่หน้าการลงทะเบียนใช้งาน ซึ่ง Blogger มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเพียง 3 ขั้นตอน ก็คือ

ขั้นตอนที่ 1 การสมัครสมาชิกและลงทะเบียนใช้งาน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตั้งชื่อบล็อก
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกแม่แบบ (Template)




 
ขั้นตอนที่ 1 การสมัครสมาชิกและลงทะเบียนใช้งาน

เริ่มที่คลิกที่ปุ่ม สมัครใช้งาน(สีแดงด้านบนขวา)


1.จะเกิดหน้าให้ท่านกรอกประวัติเพื่อสมัครเข้าใช้งาน แนะนำให้ควรกรอกประวัติด้วยข้อมูลจริง หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องจำได้
 
เสร็จแล้วอย่าลืมคลิกที่ช่อง การยอมรับข้อตกลง ด้วย
เมื่อเรียบร้อย คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อ




2.เมื่อกรอกข้อมูลถูกต้อง และครบถ้วนให้คลิกที่ปุ่ม ขั้นตอนถัดไป (สีฟ้าด้านล่างขวา)


3.จะปรากฏหน้า ยินดีต้อนรับ  ก็ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัครเข้าใช้บริการ ซึ่งเท่ากับว่า ท่านมีเมล์สำหรับใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเมล์ไปโดยปริยาย


เริ่มเข้าใช้งาน
1.คลิกที่ปุ่ม กลับไปที่ Blogger สีฟ้า


2.เลือกไปที่โปรไฟล์บล็อกเกอร์ คลิกปุ่ม สร้างโปรไฟล์บล็อกเกอร์แบบจำกัด
3.ใส่ชื่อของ Blog ลงในช่องชื่อที่แสดง


4.คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อไปยังบล็อกเกอร์ (สีส้ม)


5.มาถึงตรงนี้ ท่านก็มีสิทธิ์พร้อมที่จะสร้างเรื่องราวเนื้อหาบน Blog แล้ว

ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตั้งชื่อบล็อก

ขั้นตอนนี้ จะเป็นการตั้งชื่อของเว็บบล็อกของท่านในสภาพจริง เรามาทำกันต่อเลย
1.โดยการคลิกที่ปุ่ม บล็อกใหม่ ซึ่งจะเกิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่ ท่านต้องกำหนดชื่อที่จะแสดงที่หัวเว็บท่านลงไปในช่อง ชื่อ และกำหนด URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่ใช้แสดงผลเว็บ ลงในช่อง ที่อยู่ ซึ่งชื่อที่ท่านกำหนด ระบบจะทำการตรวจสอบทันทีว่าสามารถใช้งานได้ไหม
2.ที่ส่วนแม่แบบท่านสามารถกำหนดเลือกแม่แบบตรงส่วนนี้ก่อนได้ ซึ่งจะมีแม่แบบหลักๆให้ท่านเลือก 7 กลุ่ม ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกในภายหลัง
เมื่อเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่ม สร้างบล็อก ได้เลย


3.ที่หน้า Blogger จะกลับมาที่หน้าเดิม ซึ่งคราวนี้จะเห็นชื่อที่ท่านตั้งปรากฏอยู่ ดังภาพด้านล่าง มาถึงตอนนี้ ครบ 3 ขั้นตอน ท่านก็พร้อมที่จะเริ่มเขียนบล็อกได้แล้ว

บางคนอาจจะ งง ว่าครบ 3 ขั้นตอนได้ไง ขั้นตอนการเลือก ธีมหรือแม่แบบไปไหน ขอเรียนให้ทราบว่า ท่านผ่านมาแล้วในข้อที่ 2 แต่ขั้นตอนนี้ที่กำหนดไว้ เผื่อท่านไม่ชอบหน้าธีมของ BLOGGER ทั้ง 7 กลุ่มท่านสามารถเลือกเอา ธีม หรือ template จากแหล่งภายนอกมาใช้งานได้ โดยศึกษาเพิ่มเติมที่ http://mediath3.blogspot.com/2013/05/blogger-7template.html

4.เริ่มเป็นนักเขียนบล็อก ให้ท่านคลิกที่ปุ่ม รูปปากกา หรือคลิกที่คำว่า เริ่มต้นการโพสต์ ซึ่งจะเข้าสู่กระดานเขียนบล็อกดังภาพ





5.หากบทความที่ท่านเขียนยังไม่เสร็จก็ยังไม่ต้องคลิกที่ปุ่มเผยแพร่ ให้คลิกที่ปุ่มปิด สถานะของเรื่องที่ท่านสร้างจะอยู่ในสถานะฉบับร่างหรือ Draft ท่านสามารถมาเขียนต่อได้

 

6.หากท่านเขียนหรือสร้างเสร็จแล้ว และทำการคลิกปุ่มเผยแพร่ บทความนี้ก็จะถูกเผยแพร่ทันที ซึ่งระบบยังอนุญาตให้ท่านกลับมาแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา โดยเลื่อนเมาส์มาที่ชื่อรายการบทความจะมีรายการ (แก้ไข ดู ลบ) ตามที่ท่านได้ดำเนินการเขียนบทความไว้

7. มาถึงตรงนี้ท่านก็มีบล็อกเป็นของตัวท่านเองแล้ว ดังภาพด้านล่าง


 
Readmore...

แบบสอบถามความคิดเห็น


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม

นายมีเดีย : mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (mediath@hotmail.com)
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ

ความเห็นจากเพื่อน Facebook