Tuesday, January 27, 2015

ใส่เสียงให้กับ Powerpoint และตั้งค่าให้เล่นจบ

0 ความคิดเห็น
 


โปรแกรมนำเสนอ PowerPoint มีพัฒนาการออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่น 2013 หรือ 365 ซึ่งมีเมนูเครื่องมือช่วยให้การนำเสนองานและตั้งค่าต่างๆทำได้ง่ายขึ้นมาก ในวันนี้จะเสนอเทคนิคการใส่เสียงที่ได้เตรียมไว้ลงไปไว้ใน PowerPoint  และสามารถเล่นไฟล์เสียงนั้นได้อย่างอัตโนมัติ ไปจนจบการนำเสนอ
มีวิธีดำเนินการ ดังนี้

1. ที่เมนู  Insert เลือกไปที่>> Audio >> Audio on My PC …
หมายเหตุ ตรงส่วนนี้ยังสามารถนำไฟล์เสียงจากแหล่งอื่นเข้ามาใช้งานได้อีก คือ Online audio และไฟล์เสียงที่ได้จากการบันทึกบนเครื่อง (Record Audio)


2. เลือกไฟล์เสียงที่เตรียมไว้     


3. เมื่อใส่เสียงเสร็จแล้ว จะเห็นไอค่อนเสียงในสไลด์


4. ที่ เมนู Audio Tools จะเป็นส่วนให้ทำการตั้งค่าต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง


ไม่ว่าจะเป็น เล่นอัตโนมัติ (Automatically) หรือ on click
กำหนดให้เสียงเล่นเองโดยไม่ต้องคลิ๊กให้เลือก Start With Previous
สามารถกำหนดการเล่นต่อเนื่องไปสไลด์ถัดไปได้ (Play Across Slides)
กำหนดให้เล่นไฟล์เสียงนั้นๆวนตลอดจนจบสไลด์ (Loop Untill Stopped)
นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของไฟล์เสียงเพื่อใช้นำเสนอได้ด้วย


 

Readmore...

ตั้งค่าให้ PowerPoint เล่นเองอัตโนมัติ

0 ความคิดเห็น
 

ในการนำเสนองาน PowerPoint บางครั้งต้องการให้แสดงแบบอัตโนมัติ เพื่อนำเสนอในลักษณะการเล่นโชว์ การประชาสัมพันธ์ การนำเสนอผลงาน การนำเสนอหน่วยงาน โปรแกรม PowerPoint ก็สามารถตอบสนองการทำงานแบบนั้นได้ โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. เลือกเมนู Slide Show >> Rehearse Timings ตามลำดับ


2. ให้ดำเนินการคลิกเล่น PowerPoint ไปตามที่ท่านต้องการแสดง โปรแกรมจะทำการจับเวลาไปจนจบจบสไลด์

หมายเหตุ
ยกเลิกการตั้งเวลา เลือก Slide Show >> Record Slide Show >> Clear >> Clear Timings
 
 
Readmore...
Saturday, January 24, 2015

การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

2 ความคิดเห็น
 
ปัจจุบันในหลายครัวเรือนมีการใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงกันแพร่หลาย ซึ่งปลั๊กไฟสายพ่วงมีหลากหลายประเภท หลายยี่ห้อ ผู้ใช้งานหลายรายใช้งานที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง  จุดประสงค์หลักของปลั๊กไฟสายพ่วงถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับงานชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาใช้งานงานแบบถาวร ดังนั้นห้ามนำไปติดตั้งหรือใช้งานแบบเสียบตลอดเวลาเพราะสายไฟอาจเกิดการชำรุด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ บทความนี้จะกล่าวถึงปลั๊กไฟสายพ่วง ในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
1.คุณลักษณะที่ดีของปลั๊กไฟสายพ่วง
2.หลักการเลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วง
3.หลักการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี

 
1.คุณลักษณะที่ดีของปลั๊กไฟสายพ่วง
1. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้มสายไฟด้านในอีกชั้นหนึ่งรวม 2 ชั้น เพื่อป้องกันความปลอดภัยจากการที่สายอาจจะชำรุดหรือขาดได้ง่าย


2. เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง


3. มีอุปกรณ์ป้องกันการใช้ไฟเกิน อาทิ ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์

4. ควรเป็นสายอ่อนที่มีสายทองแดงย่อยๆ มีขนาดสายรวมไม่ต่ำกว่า 0.824 ตารางมิลลิเมตร (sqmm) หรือสายเบอร์ 18 AWG (แนะนำให้ใช้สายที่มีค่าสูงกว่า 1.0 sqmm)


หมายเหตุ
ตัวอย่าง ตารางเทียบขนาดสาย




2.หลักการเลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วง
1. เลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วงที่ในส่วนของสายไฟอ่อนต้องได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)ประเภทสายไฟทองแดงหุ้มด้วยโพลิไวนิลคลอไรด์ มอก. 11-2531 (ศึกษาเรื่อง มอก. 11-2531)



2. พิจารณาคุณลักษณะ คุณภาพของวัสดุที่นำมาทำชุดปลั๊กไฟสายพ่วง ทั้งในส่วนของเต้าเสียบ เต้ารับ อุปกรณ์ป้องกันและรางปลั๊กไฟ ต้องดูแน่นหนา สภาพแข็งแรง ไม่หลวมหลุดง่าย เต้ารับต้องทำด้วยทองเหลือง ตัวปลั๊กเสียบต้องเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน แข็งแรง บริเวณขั้วปลั๊กกับส่วนของสายไฟต้องมีข้อยืดหยุ่นรองรับการงอได้ดี


3. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กจากเต้าเสียบ

4. ปลั๊กไฟสายพ่วงที่ดีต้องมีฟิวส์ หรือ  BREAKER ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าหากใช้ไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด

5. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยจากการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด

6. ระบุค่าแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดใช้งานได้ระหว่าง 220- 250 โวลต์ ที่เหมาะกับไฟฟ้าในประเทศไทย

7. วัสดุทำรางเต้ารับผลิตจากพลาสติกเอวีซี (AVC) ซึ่งเนื้อพลาสติกจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกพีวีซี (PVC) ลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง

3.หลักการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี
1. ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงต่อร่วมกันหลายๆเส้น เพื่อเพิ่มความยาว เพราะจุดรอยต่อจะเกิดความต้านทานเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่เกิดความร้อน นำไปสู่การลัดวงจร

2. เมื่อเลิกใช้ควรดึงปลั๊กสายไฟต่อพ่วงออกจากเต้าเสียบหลักที่ผนัง ไม่ควรเสียบคาทิ้งไว้

3. ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงแบบใช้งานทั่วๆไป กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟฟ้ามากไฟมาก หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา อาทิ เครื่องปั๊มน้ำ  หลอดไฟฟ้าส่องสว่างขนาดใหญ่ 

4.ไม่ใช้ปลั๊กสายไฟต่อพ่วงใช้งานกับอุปกรณ์ที่มีสภาพการกระชากไฟเป็นช่วงๆ อาทิ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น เป็นต้น

5. ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับ ปลั๊กไฟสายพ่วง เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ

6. เมื่อใช้งาน เต้าเสียบและเต้ารับต้องเสียบแนบแน่นพอสมควรและไม่หลวมง่าย เพราะหากปลั๊กไฟหลวม จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอาร์ค ความร้อนที่หน้าสำผัสจะสูงมากขึ้น จนเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน

7.ไม่ใช้ปลั๊กไฟต่อพ่วงนำไปใช้ในแบบถาวรเนื่องจากฉนวนหุ้มของสายไฟอ่อนบางประเภท จะเสื่อมคุณภาพเร็ว อาจจะกรอบและหลุดร่อนได้ง่าย และเป็นส่วนให้สายไฟเกิดสนิมอ๊อกไซด์

8. หลีกเลี่ยงการใช้งานปลั๊กสายไฟต่อพ่วงมีสภาพชำรุดโดยเฉพาะตัวสาย หากจำเป็นต้องใช้งานให้ตรวจสอบส่วนที่ชำรุดว่ายังมีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่  อาทิ สายมีรอยบาดขาดจนเห็นเส้นทองแดง ให้ทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน แต่หากสายไฟมาสภาพกรอบ แตก ไม่ควรนำมาใช้


9. หลีกเลี่ยงการใช้ปลั๊กสายไฟต่อพ่วงประเภทฉนวนหุ้มชั้นเดียว โดยเฉพาะรูปลักษณะที่เป็นแบบม้วนเก็บวงกลม เพราะปลั๊กไฟต่อพ่วงประเภทนี้ ค่อนข้างอันตรายอันเป็นผลมาจากส่วนใหญ่สายขนาดเล็ก (ประมาณ 0.5 sqmm) เวลาม้วนสายจะตีเกลียว

นอกจากนี้วัสดุที่ทำเป็นฉนวนหุ้มสายทองแดงจะค่อนข้างบางและกรอบง่าย ส่งผลให้สายทองแดงมีโอกาสที่จะแตะเข้าหากันได้โดยง่าย

10.ไม่ใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงเกินขนาดกระแสไฟฟ้าที่กำหนด เพราะฉนวนที่หุ้มสายไฟจะเกิดความร้อนสูงจนละลาย หรือแข็งกรอบ เปื่อย ยุ่ย อาจทำให้สายทองแดงที่อยู่ภายในสายไฟทั้งสองเส้นแตะชิดกัน เป็นสาเหตุสำคัญให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้

ค่าขนาดสายที่ปลอดภัย
สายขนาด 0.5 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 1,200 วัตต์ (โดยประมาณ)
สายขนาด 1.0 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,200 วัตต์ (โดยประมาณ)
สายขนาด 1.5 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 3,500 วัตต์ (โดยประมาณ)
สายขนาด 2.5 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 5,000 วัตต์ (โดยประมาณ)
สายขนาด 4.0 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 6,500 วัตต์ (โดยประมาณ)

หรือจะลองคำนวนจากตารางด้านล่าง
โดยดูที่ขนาดของสายที่ปรากฎด้านข้างของสายไฟ แล้วเทียบขนาดช่องในตารางด้านซ้ายสุด นำตัวเลข ด้านขวาสุดคูณกับ 220 ก็จะเท่ากับค่าของกำลังไฟฟ้าที่สานทนได้โดยประมาณ






Readmore...

แบบสอบถามความคิดเห็น


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม

นายมีเดีย : mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (mediath@hotmail.com)
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ

ความเห็นจากเพื่อน Facebook