Thursday, April 21, 2016

ข้อควรระวังการนำแบตเตอรี่สำรองขนาดใหญ่ขึ้นเครื่องบิน

0 ความคิดเห็น
 
เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2559 มีกิจกรรมที่ต้องเดินทางไปกรุงเทพ ก็ใช้บริการสายการบินบางกอกแอร์เวย์จากท่าอากาศยานลำปางไปสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เหมือนเดิม  หลังจากปฏิบัะติภารกิจเสร็จก็เดินทางกลับในอีกสองวันรุ่งขึ้น ก็กลับมาลำปาง ก็ด้วยสายการบินเช่นเดิม ที่สุวรรณภูมิ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่า ทางท่าอากาศยานหรือสนามบิน มีความเข้มงวดต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางรายการ ในที่นี้ก็คือ แบตเตอรี่สำรองหรือที่เรียกกันว่า Power Bank นั่นเอง ซึ่งแต่เดิมปีก่อนจำได้ว่าแทบจะไม่มีปัญหาใดๆ ซึ่งผมเองก็พกพาไปหนึ่งตัวเป็น eloop E14 ขนาด 20,000 mAh ซึ่งพึ่งจะซื้อมาใหม่ๆ


แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยี ไปไว Power bank มีขนาดความจุที่สูงขึ้นทำให้ทางสนามบินต้องวางมาตรการป้องกัน  จึ่งเป็นที่มาของกฏมาตรฐานความปลอดภัยของ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA (The International Air Transport Association) ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการนำแบตเตอรี่สำรองขึ้นไปบนเครื่องบินดังนี้

1. ห้ามนำแบตเตอรี่สำรองใส่กระเป๋าเดินทางโหลดใต้เครื่องในทุกกรณี 

2. แบตเตอรี่สำรองสามารถนำใส่กระเป๋าติดตัวถือขึ้นเครื่องบินได้ในจำนวนและปริมาณที่จำกัด ได้แก่
2.1 แบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000 mAh หรือน้อยกว่า 100 Wh
      สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่มีการจำกัดจำนวน
2.2 แบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้า 20,000 - 32,000 mAh หรือ 100-160 Wh
      สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกินคนละ 2 ก้อน

2.3 แบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh หรือ 160 Wh
      ห้ามนำขึ้นเครื่องในทุกกรณี


ซึ่งการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน (ทำไมเราไม่ได้รับข่าวสารหนอ) ที่พบคือบนเว็บไซต์


แต่ละสายการบินก็จะทำการแจ้งเตือนให้กับผู้โดยสารของสายการบินต่างให้ทราบ อาทิ การบินไทย


และได้ถามเจ้าหน้าที่ว่า
1. กรณีที่ตรวจพบ ว่าพกพาเกินเกินกว่าที่ทางการท่าอากาศยาน กำหนดไว้ ให้ทำยังไง
คำตอบคือ ถ้ามีเวลาก็ให้ส่งไปรษณีย์  ถ้าไม่ทัน ต้องทิ้ง
2.กรณีตรวจพบแอบโหลดใส่กระเป๋าเดินทาง
  ไม่ได้รับคำตอบว่า จะมีมาตรการใด
ใครมีประสบการณ์ แชร์ด้วยครับ


ส่วนที่เป็นข้อกังขาลึกๆแต่อยากแชร์ก็คือ
การที่ออกกฏแบบนี้ ถือว่ายังไม่รัดกุม เพราะ Power bank มีหลากหลาย ผลิตออกมาหลากหลายบริษัท หลากหลายโรงงาน ทั้งที่ได้มาตรฐานและไม่มีมาตรฐาน ซึ่งตัว Power bank เองเป็นอุกรณ์ที่มีพลังงาน สามารถสร้างความเสียหาย ไม่ว่าจากความร้อน จากการระเบิด ได้  ดังนั้นมาตรการดังกล่าวอาจจะไม่ครอบคลุมนัก น่าจะดูเพิ่มเติมที่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์  มาตรฐานการผลิตว่ามีระบบการป้องกันของตัว Power bank เองได้มาตรฐานไหม หรือจะเอาลึกลงไปถึงประเภทของแบตเตอรี่เลยก็ยังได้


ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.iata.org/whatwedo/cargo/dgr/Pages/lithium-batteries.aspx

Leave a Reply

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ

แบบสอบถามความคิดเห็น


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม

นายมีเดีย : mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (mediath@hotmail.com)
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ

ความเห็นจากเพื่อน Facebook